IV : Stock

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Notes : กฎการลงทุน 16 ข้อของ Sir John Templeton


กฎการลงทุน 16 ข้อของ Sir John Templeton
--------------------------------------------------------------------

Sir John Templeton ถือว่าเป็นหนึ่งในนักลงทุนระดับ “ตำนาน” คนหนึ่งของโลก และเป็นผู้ก่อตั้ง Templeton Growth Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่มีผลงานดีเด่นอย่างต่อเนื่อง ทำผลตอบแทนในช่วงเวลา 50 ปี (1954 – 2004) ได้เฉลี่ย 13.8% ต่อปี สูงกว่าดัชนี S&P 500 ที่ได้ผลตอบแทน 11.1% ต่อปี


Sir John Templeton ถือว่าเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) โดยมีหลักในการลงทุน 16 ข้อ ดังนี้

1. Invest for Maximum Total Real Return จงลงทุนเพื่อผลตอบแทนรวมที่แท้จริง – ต้องดูผลตอบแทนหลังหัก เงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน ภาษี ฯลฯ ด้วย

2. Invest – Don’t Trade or Speculate จงลงทุน อย่าเก็งกำไรหรือซื้อๆขายๆ – ตลาดหุ้นไม่ใช่บ่อน แต่หากเก็งกำไรหรือเทรดบ่อยๆ อาจจะเก็งผิดทางทำให้ขาดทุนหนักได้ และจะพบว่ากำไรส่วนใหญ่จะหายไปกับค่าคอมมิชชั่น

3. Remain Flexible and Open-minded about Types of Investment จงมีความยืดหยุ่นและเปิดใจให้กับการลงทุนหลากหลายประเภท – โลกของการลงทุนไม่ได้มีแค่หุ้นเท่านั้น บางครั้งหากไม่มีหุ้นน่าลงทุนก็อาจจะโยกเงินไปซื้อพันธบัตร หรือถือเงินสด ได้

4. Buy Low ซื้อตอนราคาต่ำ – บางครั้งเราซื้อหุ้นตามเพื่อน โดยไม่ได้ดูว่าหุ้นถูกหรือแพง

5. When Buying Stocks, Search for Bargains among Quality Stocks เมื่อซื้อหุ้นให้ค้นหาหุ้นที่ลดราคาในกลุ่มหุ้นที่มีคุณภาพ – เลือกบริษัทที่มีแบรนด์ที่ลูกค้าเชื่อถือ อยู่ในธุรกิจที่มีอัตรากำไรสูง สินค้าและบริการมีคุณภาพดี ฯลฯ

6. Buy Value. Not Market Trends or the Economic Outlook เน้นเลือกหุ้นคุณค่ารายตัว ไม่ใช่ซื้อแนวโน้มตลาดหรือเศรษฐกิจ

7. Diversify. In Stocks and Bonds, As in Much Else, There is Safety in Numbers กระจายการลงทุนในหุ้นและพันธบัตร และหลักทรัพย์อื่นๆ

8. Do Your Homework or Hire Wise Experts to Help You ทำการบ้านเองหรือ (ถ้าไม่ไหว) ให้มืออาชีพมาช่วยดีกว่า – นักลงทุนต้องศึกษาหุ้นและการลงทุนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จงจำไว้ว่าโดยปรกติคุณซื้อกำไร (Earnings) หรือไม่ก็สินทรัพย์ (Assets) หากคิดว่าบริษัทจะโต เราจะซื้อหุ้นเพราะคาดหวังกำไรในอนาคต หากคิดว่าบริษัทจะถูกควบกิจการ เราจะซื้อหุ้นเพราะต้องการสินทรัพย์

9. Aggressively Monitor Your Investments ติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด – โลกของธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ควรเตรียมใจให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและพร้อมปรับพอร์ตของเราเสมอ แต่ก็ไม่ต้องเครียด เพียงแต่ต้องเอาใจใส่ดูแลพอร์ตบ้าง

10. Don’t Panic อย่าตื่นตระหนกเกินเหตุ – หากหุ้นตกแรง อย่าตกใจแล้วรีบเทขาย จงถือหุ้นในพอร์ตเอาไว้ก่อน เว้นแต่ว่ามีหุ้นตัวอื่นที่น่าซื้อมากกว่า

11. Learn from Your Mistakes เรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเอง – ในการลงทุน มีเพียงแค่วิธีการเดียวที่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดคือการไม่ต้องลงทุน ซึ่งกลับกลายเป็นความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงที่สุด ดังนั้นนักลงทุนต้องรู้จักให้อภัยตนเอง เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและรู้ว่าครั้งต่อไปจะแก้ไขอย่างไร

12. Begin with a Prayer เริ่มต้นด้วยการอธิษฐาน – ปรับสภาพจิตใจและตั้งสติให้ดีๆ

13. Outperforming the Market is a Difficult Task การเอาชนะตลาดเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก –ความท้าทายของนักลงทุนที่ดีไม่ใช่แค่การเอาชนะนักลงทุนรายย่อยทั่วไป แต่อยู่ที่จะทำอย่างไรให้ตัดสินใจได้ดีกว่านักลงทุนสถาบัน รายใหญ่ที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก

14. An Investor Who Has All the Answers Doesn’t Even Understand All the Questions นักลงทุนที่มีคำตอบทุกอย่างไม่เข้าใจแม้แต่คำถามทั้งหมด – ความมั่นใจในตนเองที่มีมากเกินไปโดยอาจจะนำพาไปสู่ความผิดหวังหรือหายนะได้ไม่ช้าก็เร็ว

15. There is No Free Lunch ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ –ไม่ควรลงทุนเพียงเพราะเพื่อนแนะนำหรือมีนักวิเคราะห์หลายคนเขียนเชียร์ให้ซื้อ จำไว้ว่า “ไม่มีใครให้อะไรใครฟรีๆ”

16. Do Not Be Fearful or Negative Too Often อย่ากลัวและมองโลกในแง่ร้ายบ่อยนัก – ตลาดหุ้นมีลงได้ ก็มีขึ้นได้ ในระยะเศรษฐกิจต้องเติบโต คนต้องกินต้องใช้ วันที่หุ้นตกแรงๆ อาจจะเป็นจังหวะของการได้เก็บของถูก อย่าลืมว่าต่อให้เวลาจะเปลี่ยนไป แต่หลักการลงทุนยังเหมือนเดิม นั่นคือ “ซื้อถูก ขายแพง”


Cr : P,Tin

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Notes : คำคมการลงทุน By นานิ



1. “The four most dangerous words in investing are: ‘this time it’s different.’”
                                                                                               - Sir John Templeton –

“ประโยคที่อันตรายที่สุดในการลงทุนก็คือ: ครั้งนี้มันไม่เหมือนสมัยก่อน”

ทุกครั้งที่ตลาดหรือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มนึง พุ่งขึ้นไปสูงมากๆจนเกินมูลค่าพื้นฐาน แทนที่จะกลัว ผู้คนมักจะเปี่ยมไปด้วยความหวัง คิดว่าครั้งนี้ ประเทศเจริญกว่าสมัยก่อนเยอะ ครั้งนี้บริษัทแข็งแกร่งและมีโอกาสรอดมากกว่าครั้งก่อนมาก ทุกครั้งที่ตลาดขึ้น คนมักจะลืมไปเลยว่าตลาดหุ้นน่ะ มันก็สามารถลงได้ มีขึ้นก็มีลง อย่างที่เคยเห็นมาในอดีต
2. “Know what you own, and know why you own it.”
                                                                                  - Peter Lynch -

“คุณต้องรู้ว่าคุณถือหุ้นอะไรอยู่ , แล้วก็รู้ด้วยว่าทำไมคุณถึงถือมัน”

นักลงทุนหลายคนคิดว่าการวิเคราะห์เลือกหุ้น นั้นหมายถึงการอ่านบทวิเคราะห์ หรืออ่านข่าว แล้วก็ซื้อตามคำแนะนำของบทความเหล่านั้น หรือไม่ก็ซื้อตามคำบอกของเพื่อนหรือคนรู้จักที่บอกว่า ‘มีข่าววงใน’ แต่การจะอยู่รอดในตลาดได้ในระยะยาวนั้น การที่เรารู้ ‘ข่าว’ เกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นมันไม่พอ เราต้องรู้ เข้าใจบริษัท และก็ต้องมีเหตุผลที่ดีพอให้เราฝากเงินลงทุนไว้ด้วย จะว่าไป นานิเคยแนะนำไปแล้ว แต่อยากจะย้ำอีกรอบ หนังสือที่เปลี่ยนชีวิตการลงทุนของนานิคือ ‘เหนือกว่าวอลสตรีท’ ของ Peter Lynch คนนี้นี่แหละ

3. “Investing should be more like watching paint dry or watching grass grow. If you want excitement, take $800 and go to Las Vegas.”
                                - Paul Samuelson –

“การลงทุนมันควรจะเหมือนการนั่งมองรอให้สีแห้ง หรือคอยจ้องรอให้ต้นหญ้าโต ถ้าคุณอยากได้ความตื่นเต้น คุณก็ควรเอาเงิน 800 เหรียญไปลาส เวกัส (เสี่ยงลงการพนัน) แทน”

นักลงทุนหน้าใหม่ อดทนไม่พอที่จะรอความสำเร็จ พวกเค้ามักจะลืมไปว่า สมการแห่งความสำเร็จในการลงทุน มันไม่ได้มีตัวแปรแค่ จำนวนเงินต้น กับ อัตรากำไร เท่านั้น แต่ตัวแปรสำคัญอีกตัวก็คือ ระยะเวลา หลายคนเข้ามา เพ่งความสนใจไปแต่ที่กำไรระยะสั้น อยากได้ความเร้าใจ แต่การลงทุน ความอดทน วินัย และความสามารถในการรอต่างหาก ที่จะเป็นฐานให้เราสร้างพอร์ตที่สวยงามได้
Ref : http://money.sanook.com/221047/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

Notes : A Gift to My Children: A Father’s Lessons for Life and Investing

สิ่งที่เห็นในหนังสือ สะท้อนบุคลิกของ Jim อย่างเต็มตัวที่เต็มไปด้วยการมองภาพใหญ่และแนวโน้มในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม การเมือง เศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม BRICs (Brazil, Russia, India, China) มุมมองที่ Jim มีต่อจีน ผมค่อนข้างเห็นด้วยในหลาย ๆ ประเด็น ซึ่งเป็นมุมมองที่แสดงให้เห็นว่า Jim ได้เข้าไปสัมผัสจีนด้วยตนเอง และยังเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติไม่กี่รายที่เข้าใจจีนและเก็บเกี่ยวจากมันได้มากขนาดนี้
ประเด็นหลักในหนังสือ

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

Notes : ไขทุกข้อข้องใจทฤษฎีผลประโยชน์ กับพิชัย จาวลา

ไขทุกข้อข้องใจทฤษฎีผลประโยชน์ กับพิชัย จาวลา 1/4
https://www.youtube.com/watch?v=2VKEqhoXJzI

ไขทุกข้อข้องใจทฤษฎีผลประโยชน์ กับพิชัย จาวลา 2/4
http://www.youtube.com/watch?v=shDHRw8PgMs&feature=youtu.be

ไขทุกข้อข้องใจทฤษฎีผลประโยชน์ กับพิชัย จาวลา 3/4
http://www.youtube.com/watch?v=DYF3joYkEKc&feature=youtu.be

ไขทุกข้อข้องใจทฤษฎีผลประโยชน์ กับพิชัย จาวลา 4/4
http://www.youtube.com/watch?v=_vSpNrPD6ig&feature=youtu.be

หวังว่าจะเป็นไอเดียดีๆ นะครับ

Notes : อะไรที่ทำให้คนส่วนมากมาแล้วก็ไป

คนส่วนใหญ่มักขาดทุน และ คนส่วนน้อยมักได้กำไร ทำไม?????  ทำไม????

มันน่าคิดนะ ว่าทำไม คนเก่งคนที่มีความรู้ คนที่ประสบความสำเร็จในสายงานแค่ละอาชีพ แต่พอเข้ามาในตลาดทุนกับขาดทุน และ ออกจากตลาดไปตามๆ กัน ทำไม
แล้วถ้าเราเลือกที่จะอยู่กับตลาดให้ได้ทั้งชีวิต เราจะทำยังไง ผมมานั่งคิดเรื่อยๆ ระยังคงคิดต่อไปเรื่อยๆ ว่าทำไมเป็นแบบนั้น และ มันมีทางไหม

ผมเคยได้ยินมาว่า
80% ขาดทุน 20% กำไร
20 % ยังถูกจำแนกได้อีก เป็น 15% แค่อยู่รอด และ กลุ่มคน 2 - 5% เท่านั้นที่รวยจริงๆ



วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

Notes : Efficient Market Theory

Efficient Market Theory 
1. นักลงทุนมีความรู้สามารถวิเคราะห์ ประเมินคุณค่า และซื้อขาย หลักทรัพย์อย่างละเอียด
2. ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สำหรับนักลงทุน ทั่วถึงและกว้างขวาง ในเวลาที่พร้อมกันและสามารถค้นหาได้อย่างไม่มีต้นทุน
3. ส่วนข้อมูลข่าวสารจำพวกเหตุการณ์ต่างๆ จะเกิดแบบ Random เช่น การประท้วงของแรงงาน วิกฤติในอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ต่อสินค้า
4. นักลงทุนตอบสนองต่อข่าวสารใหม่อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เป็นสาเหตุให้ราคาปรับตัวอย่างรวดเร็ว และแม่นยำ

Ref : http://www.iammrmessenger.com/

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

Notes : บทเรียนจาก แอนโทนี่ โบลตัน


บทเรียนที่ แอนโทนี่ โบลตัน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในการเป็นผู้จัดการกองทุนตลอด 25 ปีของเขา 
1.เข้าใจความได้เปรียบเชิงแข่งขันและคุณภาพของบริษัท ธุรกิจที่น่าสนใจคือธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืนเป็นระยะเวลายาวนาน สิ่งที่ควรถามก็คือในอีก 10 ปีข้างหน้า บริษัทนี้จะยังคงอยู่หรือไม่และบริษัทน่าจะมีมูลค่าสูงกว่านี้อีกเท่าไหร่
2. เข้าใจตัวแปรสำคัญๆ ที่เป็นตัวผลักดันธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแปรที่บริษัทควบคุมไม่ได้อย่างเช่น ค่าเงิน, อัตราดอกเบี้ย และภาษี ธุรกิจที่ดีคือธุรกิจที่สามารถควบคุมชะตากรรมส่วนใหญ่ของตัวเองได้
3. สนใจธุรกิจที่เข้าใจได้ง่าย มากกว่าธุรกิจที่ซับซ้อน สำหรับเขาแล้วความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดเป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจ ธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงๆ ในการดำเนินธุรกิจจะมีความน่าสนใจน้อยกว่า
4. ฟังข้อมูลจากผู้บริหารโดยตรง เขาชอบผู้บริหารที่ตรงไปตรงมาและไม่ขี้โม้ เขาอยากได้ยินทั้งข่าวดีและข่าวร้ายของบริษัท
5. หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีผู้บริหารไม่ซื่อสัตย์ และไม่มีความน่าเชื่อถือในทุกกรณี

Ref : https://www.facebook.com/set.or.th/photos/a.177703174974.27048.95359944974/10150446202934975/?type=1&fref=nf