IV : Stock

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

Notes : บทเรียนจาก แอนโทนี่ โบลตัน


บทเรียนที่ แอนโทนี่ โบลตัน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในการเป็นผู้จัดการกองทุนตลอด 25 ปีของเขา 
1.เข้าใจความได้เปรียบเชิงแข่งขันและคุณภาพของบริษัท ธุรกิจที่น่าสนใจคือธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืนเป็นระยะเวลายาวนาน สิ่งที่ควรถามก็คือในอีก 10 ปีข้างหน้า บริษัทนี้จะยังคงอยู่หรือไม่และบริษัทน่าจะมีมูลค่าสูงกว่านี้อีกเท่าไหร่
2. เข้าใจตัวแปรสำคัญๆ ที่เป็นตัวผลักดันธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแปรที่บริษัทควบคุมไม่ได้อย่างเช่น ค่าเงิน, อัตราดอกเบี้ย และภาษี ธุรกิจที่ดีคือธุรกิจที่สามารถควบคุมชะตากรรมส่วนใหญ่ของตัวเองได้
3. สนใจธุรกิจที่เข้าใจได้ง่าย มากกว่าธุรกิจที่ซับซ้อน สำหรับเขาแล้วความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดเป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจ ธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงๆ ในการดำเนินธุรกิจจะมีความน่าสนใจน้อยกว่า
4. ฟังข้อมูลจากผู้บริหารโดยตรง เขาชอบผู้บริหารที่ตรงไปตรงมาและไม่ขี้โม้ เขาอยากได้ยินทั้งข่าวดีและข่าวร้ายของบริษัท
5. หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีผู้บริหารไม่ซื่อสัตย์ และไม่มีความน่าเชื่อถือในทุกกรณี

Ref : https://www.facebook.com/set.or.th/photos/a.177703174974.27048.95359944974/10150446202934975/?type=1&fref=nf
6. พยายามคิดล้ำหน้ากว่าคนอื่นๆ ไปสองก้าว ดูว่าอะไรถูกมองข้ามไปในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้ว ตลาดหุ้นไม่ได้มองอะไรไกลๆ นัก ดังนั้นหากเรามองไกลกว่าคนอื่น เราจะสามารถทำกำไรได้
7. เข้าใจความเสี่ยงในงบดุล การลงทุนเป็นการจำกัดความเสี่ยงและการหลีกเลี่ยงความหายนะ ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์งบดุลอย่างละเอียด ดูเรื่องหนี้สินของบริษัทให้ดี
8. เสาะหาความคิดจากหลายๆ แหล่ง แหล่งความคิดที่ชัดเจนที่สุดอาจจะไม่ใช่แหล่งที่ดีที่สุดเสมอไป สำหรับโบลตัน เขามักชอบแหล่งข้อมูลที่คนอื่นๆ ไม่ค่อยใช้กันมากกว่า
9. ดูการซื้อขายหุ้นของผู้บริหารบริษัท แม้ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ถูกต้องเสมอไปแต่ก็มีประโยชน์มาก การดูจำนวนรายการที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการซื้อจะบอกอะไรได้มากกว่าการขาย และการซื้อขายของผู้บริหารบางคนน่าสนใจกว่าของคนอื่น ๆ
10. ตรวจสอบเหตุผลในการลงทุนของคุณเป็นระยะๆ การซื้อหุ้นต้องมีเหตุผลรองรับ และต้องตรวจสอบเหตุผลเหล่านั้นเป็นระยะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้น อย่าปล่อยให้ความเชื่อมั่นพัฒนากลายเป็นความดื้อรั้น
11. ลืมต้นทุนของคุณซะ ราคาที่ซื้อหุ้นมาไม่มีความเกี่ยวข้องเลย มันแค่มีความสำคัญในเชิงจิตวิทยาเท่านั้น เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปในเชิงลบ อย่างลังเลที่จะตัดขาดทุน
12. ผลงานที่ผ่านมาไม่ได้บ่งบอกถึงอนาคต นักลงทุนต้องวิเคราะห์ความผิดพลาดของตนเองและเรียนรู้จากมัน
13. ใส่ใจกับมูลค่าเฉพาะของบริษัทนั้นๆ ไม่ใช่ดูแต่มูลค่าเชิงเปรียบเทียบ ถ้าดูแต่มูลค่าเชิงเปรียบเทียบ นักลงทุนอาจซื้อหุ้นตัวที่แพงน้อยกว่าซึ่งสุดท้ายอาจทำให้ขาดทุนอยู่ดี
14. ใช้วิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นตัวบ่งชี้เพิ่มเติม นักลงทุนอาจใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคมาช่วยกำหนดขนาดการซื้อหุ้น หากปัจจัยทางเทคนิคช่วยยืนยันการวิเคราะห์เชิงพื้นฐาน ควรซื้อหุ้นในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้าไม่ใช่ ควรซื้อหุ้นอยู่ดีแต่ซื้อในปริมาณที่ลดลง เมื่อไรก็ตามที่ปัจจัยทางเทคนิคชี้ว่าหุ้นกำลังอ่อนแอ ควรตรวจสอบปัจจัยพื้นฐานของบริษัทอีกครั้ง อย่างไรก็ตามมันจะมีประโยชน์สำหรับหุ้นขนาดใหญ่มากกว่า
15. หลีกเลี่ยงการทำนายทิศทางตลาด และการลงทุนตามเศรษฐกิจมหภาค ควรลงทุนในบริษัทที่คิดว่ามีความได้เปรียบเชิงแข่งขัน
16. จงสวนกระแส หากคุณรู้สึกสบายใจที่จะลงทุนในหุ้น คุณอาจจะเข้ามาสายไปแล้ว จงลงทุนสวนกระแสฝูงชน อย่ารู้สึกมั่นใจสูงขึ้นเมื่อราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้น เวลาที่ทุกคนปราศจากความกังวลจะเป็นเวลาที่น่ากลัวที่สุด เวลาที่ทุกคนกังวลอย่างมาก ความกังวลมันจะไปสะท้อนในราคาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น