IV : Stock

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

Notes : A Gift to My Children: A Father’s Lessons for Life and Investing

สิ่งที่เห็นในหนังสือ สะท้อนบุคลิกของ Jim อย่างเต็มตัวที่เต็มไปด้วยการมองภาพใหญ่และแนวโน้มในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม การเมือง เศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม BRICs (Brazil, Russia, India, China) มุมมองที่ Jim มีต่อจีน ผมค่อนข้างเห็นด้วยในหลาย ๆ ประเด็น ซึ่งเป็นมุมมองที่แสดงให้เห็นว่า Jim ได้เข้าไปสัมผัสจีนด้วยตนเอง และยังเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติไม่กี่รายที่เข้าใจจีนและเก็บเกี่ยวจากมันได้มากขนาดนี้
ประเด็นหลักในหนังสือ

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

Notes : ไขทุกข้อข้องใจทฤษฎีผลประโยชน์ กับพิชัย จาวลา

ไขทุกข้อข้องใจทฤษฎีผลประโยชน์ กับพิชัย จาวลา 1/4
https://www.youtube.com/watch?v=2VKEqhoXJzI

ไขทุกข้อข้องใจทฤษฎีผลประโยชน์ กับพิชัย จาวลา 2/4
http://www.youtube.com/watch?v=shDHRw8PgMs&feature=youtu.be

ไขทุกข้อข้องใจทฤษฎีผลประโยชน์ กับพิชัย จาวลา 3/4
http://www.youtube.com/watch?v=DYF3joYkEKc&feature=youtu.be

ไขทุกข้อข้องใจทฤษฎีผลประโยชน์ กับพิชัย จาวลา 4/4
http://www.youtube.com/watch?v=_vSpNrPD6ig&feature=youtu.be

หวังว่าจะเป็นไอเดียดีๆ นะครับ

Notes : อะไรที่ทำให้คนส่วนมากมาแล้วก็ไป

คนส่วนใหญ่มักขาดทุน และ คนส่วนน้อยมักได้กำไร ทำไม?????  ทำไม????

มันน่าคิดนะ ว่าทำไม คนเก่งคนที่มีความรู้ คนที่ประสบความสำเร็จในสายงานแค่ละอาชีพ แต่พอเข้ามาในตลาดทุนกับขาดทุน และ ออกจากตลาดไปตามๆ กัน ทำไม
แล้วถ้าเราเลือกที่จะอยู่กับตลาดให้ได้ทั้งชีวิต เราจะทำยังไง ผมมานั่งคิดเรื่อยๆ ระยังคงคิดต่อไปเรื่อยๆ ว่าทำไมเป็นแบบนั้น และ มันมีทางไหม

ผมเคยได้ยินมาว่า
80% ขาดทุน 20% กำไร
20 % ยังถูกจำแนกได้อีก เป็น 15% แค่อยู่รอด และ กลุ่มคน 2 - 5% เท่านั้นที่รวยจริงๆ



วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

Notes : Efficient Market Theory

Efficient Market Theory 
1. นักลงทุนมีความรู้สามารถวิเคราะห์ ประเมินคุณค่า และซื้อขาย หลักทรัพย์อย่างละเอียด
2. ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สำหรับนักลงทุน ทั่วถึงและกว้างขวาง ในเวลาที่พร้อมกันและสามารถค้นหาได้อย่างไม่มีต้นทุน
3. ส่วนข้อมูลข่าวสารจำพวกเหตุการณ์ต่างๆ จะเกิดแบบ Random เช่น การประท้วงของแรงงาน วิกฤติในอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ต่อสินค้า
4. นักลงทุนตอบสนองต่อข่าวสารใหม่อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เป็นสาเหตุให้ราคาปรับตัวอย่างรวดเร็ว และแม่นยำ

Ref : http://www.iammrmessenger.com/

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

Notes : บทเรียนจาก แอนโทนี่ โบลตัน


บทเรียนที่ แอนโทนี่ โบลตัน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในการเป็นผู้จัดการกองทุนตลอด 25 ปีของเขา 
1.เข้าใจความได้เปรียบเชิงแข่งขันและคุณภาพของบริษัท ธุรกิจที่น่าสนใจคือธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืนเป็นระยะเวลายาวนาน สิ่งที่ควรถามก็คือในอีก 10 ปีข้างหน้า บริษัทนี้จะยังคงอยู่หรือไม่และบริษัทน่าจะมีมูลค่าสูงกว่านี้อีกเท่าไหร่
2. เข้าใจตัวแปรสำคัญๆ ที่เป็นตัวผลักดันธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแปรที่บริษัทควบคุมไม่ได้อย่างเช่น ค่าเงิน, อัตราดอกเบี้ย และภาษี ธุรกิจที่ดีคือธุรกิจที่สามารถควบคุมชะตากรรมส่วนใหญ่ของตัวเองได้
3. สนใจธุรกิจที่เข้าใจได้ง่าย มากกว่าธุรกิจที่ซับซ้อน สำหรับเขาแล้วความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดเป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจ ธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงๆ ในการดำเนินธุรกิจจะมีความน่าสนใจน้อยกว่า
4. ฟังข้อมูลจากผู้บริหารโดยตรง เขาชอบผู้บริหารที่ตรงไปตรงมาและไม่ขี้โม้ เขาอยากได้ยินทั้งข่าวดีและข่าวร้ายของบริษัท
5. หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีผู้บริหารไม่ซื่อสัตย์ และไม่มีความน่าเชื่อถือในทุกกรณี

Ref : https://www.facebook.com/set.or.th/photos/a.177703174974.27048.95359944974/10150446202934975/?type=1&fref=nf

ชาร์ลียังคงรวบรวมและวิจัยความล้มเหลวของบุคคล ธุรกิจ รัฐบาล และการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ

  จากนั้นจึงเรียบเรียงสาเหตุเพื่อนำไปสู่รายการเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง ด้วยวิธีนี้เขาสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตได้
ชาร์ลีมีความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่มีขีดจำกัด เขามีความกระตือรือร้นและมีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์อย่างสูง สำหรับเขาแล้วทุกปัญหาสามารถเข้าใจได้ด้วยตนเอง ในมุมมองเขา ทุกสิ่งในจักรวาลมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเพียงแค่เรียงร้อยความรู้เหล่านี้เข้าด้วยกัน ทำให้เขาอุทิศในการศึกษาทุกทฤษฎีที่สำคัญ และสร้างพื้นฐานขึ้นมาเรียกว่า "ปรัชญาของคำพูด" (Worldly Wisdom) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจและลงทุน
แนวความคิดของชาร์ลีอยู่บนพื้นฐานความซื่อสัตย์ต่อความรู้ เขาเชื่อว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป ขีดจำกัดของมันอยู่ที่ความหยั่งรู้และความเข้าใจ ในขณะเดียวกันคุณต้องรวบรวมข้อเท็จจริงใหม่ๆ ที่พิสูจน์ได้ เพื่อตรวจสอบและปรับปรุงความรู้ของคุณ และรู้ว่าสิ่งใดที่คุณรู้และสิ่งใดที่คุณไม่รู้ ถึงกระนั้น ความเข้าใจอย่างแท้จริงของมนุษย์ก็ยังมีขีดจำกัด ดังนั้นการตัดสินใจจึงต้องอยู่ในขอบเขตของคุณที่เรียกว่า “ขอบเขตของความรู้” (Circle of Competence) ความสามารถที่มีขอบเขตเท่านั้นถึงจะเป็นความสามารถที่แท้จริง คำถามอยู่ที่ว่าคุณจะกำหนดขอบเขตความรู้ของคุณได้อย่างไร
ชาร์ลีกล่าวว่า ถ้าเขาต้องเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาจะต้องไม่สามารถปฏิเสธหรือโต้แย้งได้ว่าความคิดนั้นดีกว่า ความคิดจากคนที่เก่งที่สุดในโลกนี้ที่เคยมีอยู่แล้ว  มิฉะนั้นเขาจะไม่เชื่ออย่างเด็ดขาด นั่นหมายความว่าความคิดของเขานอกจากจะต้องริเริ่มสร้างสรรค์แล้วจะต้องไม่เคยผิดอีกด้วย

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

Notes : แนวคิด ชาร์ลี มังเกอร์


“ผมอยากรู้ว่าผมจะตายที่ไหน เพื่อที่ผมจะได้ไม่ไปที่นั่น” เป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นถึงวิธีคิดของ “ชาร์ลี มังเจอร์” รองประธานบริษัท เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์ ได้เป็นอย่างดี

    “ลี ลู” นักลงทุนเชื้อสายจีนที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับ “ชาร์ลี มังเจอร์” กล่าวถึงบุรุษผู้นี้ว่า “ชาร์ลีเป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร โดยเฉพาะเอกลักษณ์ในเรื่องความคิดและบุคลิกภาพ เมื่อไหร่ที่ชาร์ลีคิดในสิ่งใด เขามักจะคิดในทางตรงกันข้าม เช่น เมื่อเขาอยากรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตมีความสุข ชาร์ลีจะศึกษาว่าทำอย่างไรชีวิตถึงจะทุกข์ เมื่อเขาเรียนรู้วิธีจะทำให้ธุรกิจยิ่งใหญ่และเข้มแข็ง เขาจะเริ่มศึกษาวิธีทำอย่างไรให้ธุรกิจตกต่ำและจบลง หลายคนศึกษาวิธีที่จะประสบความสำเร็จจากตลาดหุ้น แต่ชาร์ลีจะศึกษาว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงได้ล้มเหลวจากตลาดหุ้น”

    “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ก็เคยกล่าวถึงการมองมุมกลับของ “ชาร์ลี มังเจอร์” คู่หูของเขาว่า “บ่อยครั้งที่ผมรู้สึกว่าการศึกษาความล้มเหลวของธุรกิจมีประโยชน์กว่าการ ศึกษาความสำเร็จของธุรกิจ โดยทั่วไปสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจมักจะศึกษาความสำเร็จของธุรกิจ แต่หุ้นส่วนของผม – ชาร์ลี มังเจอร์ กล่าวว่า เขาอยากรู้ว่าเขาจะตายที่ไหน เพื่อที่เขาจะได้ไม่ไปที่นั่น” 


Ref : http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=57985

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557